ภารกิจการส่งเสริมการเลี้ยงครั่ง ของ สุรเทิน บุนนาค

เนื่องด้วยครั่งได้เป็นสินค้าที่ทำรายได้ให้แก่ประเทศไทย ในระยหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 ประเทศไทยได้ส่งสินค้าครั่งไปขายเป็นมูลค่าเฉลี่ยแล้วไม่น้อยกว่าปีละ 100 ล้านบาทเศษ รัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญของครั่ง จึงได้มอบหมายให้กระทรวงเกษตรดำเนินการส่งเสริมการเลี้ยงครั่งให้แพร่หลายยิ่งขึ้น เป็นการส่งเสริมอาชีพทางเกษตรกรรมอีกด้านหนึ่ง โดยกรมป่าไม้เป็นผู้มีหน้าที่ดำเนินการส่งเสริมครั่งให้บรรลุเป้าหมายเป็นลำดับเรื่อยมาโดยมิได้หยุดยั้ง แต่เนื่องจากในระยะหลังจาก พ.ศ. 2502 เป็นต้นมา ราคาครั่งได้ตกต่ำ ราษฎรไม่นิยมการเลี้ยงครั่ง ทางกระทรวงเกษตรก็มิได้นิ่งนอนใจ ได้ตั้งกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยรองปลัดกระทรวงเกษตร เป็นประธานกรรมการ เรียกว่า คณะกรรมการส่งเสริมการผลิตครั่งของกระทรวงเกษตร ได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในด้านการเพาะเลี้ยงครั่งมารวมเป็นกรรมการด้วย ซึ่งในคณะกรรมการชุดนี้ มี นายสุรเทิน บุนนาค ด้วยผู้หนึ่ง ที่ได้รับเชิญเป็นกรรมการ นายสุรเทิน บุนนาค ได้พยายามทุกวิถีทางที่จะหาทางส่งเสริมครั่งให้ราษฎรสนใจ ทั้งยังได้เสนอแนะให้ทางกรมป่าไม้ จัดการเพาะเลี้ยงครั่งขึ้นในพระราชวังสวนจิตรลดา โดยเป็นผู้ได้นำเมล็ดพันธุ์ไม้มะแฮะนก (Mogania macrophylla) จากประเทศอินเดียไปทดลองปลูกปล่อยครั่ง โดยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นผู้ทรงปลูก เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2503 นอกจากนี้ ยังได้ขอพระบรมราชานุญาต ให้กรมป่าไม้ไปทดลองปล่อยครั่งกับไม้ก้ามปู ที่พระราชวังไกลกังวล อีกด้วย

ในระยะ พ.ศ. 2504 - 2509 ครั่งมีราคาตกต่ำ ทำให้ราษฎรผู้เลี้ยงครั่งเลิกล้มกิจการไปเป็นส่วนมาก ต่อมา ใน พ.ศ. 2510 ครั่งเริ่มมีราคาดีขึ้น ราษฎรสนใจในการเลี้ยงครั่งมากขึ้น แต่ก็ขาดแคลนพันธุ์ครั่งที่จะใช้เพาะเลี้ยงอยู่โดยทั่วไป กรมป่าไม้จึงต้องรับภาระหนักที่จะต้องเตรียมเพาะพันธุ์ครั่งไว้แจกแก่ราษฎรอย่างขนานใหญ่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้ นายสุรเทิน บุนนาค เป็นผู้เรียบเรียง หนังสือ "อุตสาหกรรมครั่ง" ขึ้น เพื่อแจกจ่ายให้แก่ราษฎรผู้สนใจ

ใกล้เคียง